Index   Back Top Print

[ AR  - BN  - DE  - EL  - EN  - ES  - FR  - IT  - PL  - PT  - TH  - ZH_CN  - ZH_TW ]

สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส

โอกาสวันเยาวชนโลก ครั้งที่ 38 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023

“จงชื่นชมยินดีในความหวัง” (รม 12:12)

เยาวชนที่รัก

ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา พ่อได้พบกับเพื่อนเยาวชนมากมายหลายแสนคนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่พร้อมใจกัน เดินทางมาร่วมงานชุมนุมเยาวชนโลกที่เมืองลิสบอน ในช่วงเวลาการระบาดใหญ่และสถานการณ์ที่ไม่ แน่นอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลก พวกเราหวังว่าช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ของการพบปะกันของเยาวชน ท่ามกลางพระเจ้าที่ ประทับอยู่กับเราจะสามารถเกิดขึ้นได้ และความหวังของเรานั้นก็เป็นจริง จากเยาวชนจำนวนมากที่เข้าร่วมงานใน ครั้งนี้ รวมถึงตัวพ่อเองด้วย การชุมนุมเยาวชนนี้ แสดงให้เห็นว่า ความหวัง ความตั้งใจของเราเป็นจริงขึ้นมาได้ การชุมนุมเยาวชนโลกที่ลิสบอน มีบรรยากาศที่งดงามมาก เป็นการประจักษ์พยานถึงการเริ่มต้นใหม่ที่แท้จริง เป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยแสงสว่างและความสุข

 ในช่วงท้ายของมิสซาสุดท้ายที่ “ลานแห่งพระคุณ (ลานแห่งพระพร)” พ่อได้กล่าวถึงขั้นต่อไปของ การแสวงบุญข้ามทวีปของพวกเราที่จะมีขึ้นที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ในปี 2027 ก่อนหน้าที่จะถึงงานชุมนุม เยาวชนโลก ปี 2027 พ่อขอเชิญชวนเยาวชนทั้งหลายเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ (Jubilee) ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในปี 2025 ที่นั่นพวกลูกก็จะเป็นหนึ่งในผู้แสวงบุญแห่งความหวังเช่นกัน

สำหรับพวกลูกเยาวชน พวกลูกคือความหวัง อันน่ายินดีของพระศาสนจักรและมนุษยชาติอย่างแท้จริง และเป็นความหวังที่ขับเคลื่อนอยู่เสมอ พ่ออยากจะจับมือพวกลูก ร่วมเดินทางกับพวกลูกไปด้วยกันในเส้นทางแห่ง ความหวังนี้ พ่ออยากจะพูดคุยกับพวกลูกในเรื่องของความชื่นชมยินดี ความหวัง รวมไปถึงความเศร้า ความกังวล และเรื่องราวของพี่น้องในครอบครัวของมนุษยชาติเรา สำหรับการเตรียมการเฉลิมฉลองปีศักดิ์สิทธิ์ (Jubilee) ในช่วงสองปีนี้ พวกเราจะรำพึงตามคำกล่าวของนักบุญเปาโลที่ว่า “จงชื่นชมยินดีในความหวัง” (รม 12:12) และ ตามประกาศกอิสยาห์ที่ว่า “ผู้ที่มีความหวังในพระเจ้า เขาจะวิ่งและไม่เหน็ดเหนื่อย” (อสย 40:31)

อะไรคือต้นกำเนิดของความชื่นชมยินดีนี้?

“ความชื่นชมยินดีในความหวัง” เป็นการให้กำลังใจของนักบุญเปาโลให้กับชุมชนที่กรุงโรม ในช่วงเวลาที่ ได้ประสบกับความเบียดเบียนครั้งใหญ่ “ความยินดีในความหวัง” ที่ได้รับการประกาศโดยอัครสาวก คือ ผลจาก การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูเจ้า ไม่ใช่ผลงาน แผนการ หรือความสามารถของมนุษย์ แต่เป็นสิ่งที่พระเจ้าทำให้เกิดขึ้น ความยินดีของชาวคริสต์มาจากพระเจ้า มาจากความตระหนักถึงความรักของ พระเจ้าที่ให้แก่พวกเรา

พระสันตะปาปาเบเนดิกซ์ที่ 16 สะท้อนกลับประสบการณ์ของพระองค์ ตอนงานชุมนุมโลกที่กรุงมาดริด ในปี 2011 ได้ถามว่า “ความยินดีมาจากไหน? สามารถอธิบายออกมาได้อย่างไร? แน่นอนว่ามีหลายปัจจัยที่ สามารถนำมากล่าวถึงได้ แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือ ความแน่นอนที่มีพื้นฐานมาจากความศรัทธา ฉันเป็นที่ต้องการ ฉันมีงานที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ ฉันได้รับการยอมรับ ฉันเป็นที่รัก” ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ท้ายที่สุดแล้ว เราจำเป็นต้องมีความรู้สึกเป็นที่ยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไข เพียงแค่พระเจ้ายอมรับฉัน และฉันมั่นใจในสิ่งนี้ ฉันจะ เข้าใจและตระหนักว่าเป็นเรื่องดีที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ถึงแม้จะประสบกับความยากลำบากหลายต่อหลายครั้ง แต่เมื่อเรามีความศรัทธา ก็จะทำให้เรามีความสุขจากภายในได้” (Roman Curia, 22 December 2011)

ความหวังของฉันอยู่ที่ไหน?

เยาวชนเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความหวังและความฝัน ได้ถูกกวนให้เข้ากันด้วยความสวยงามมากมาย ที่เพิ่มคุณค่าให้ชีวิตของพวกเรา ความงดงามของสิ่งสร้างจากพระเจ้า ความสัมพันธ์กับเพื่อนและคนรัก การพบเจอ ของศิลปะและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความพยายามในการทำงานเพื่อสันติภาพ ความยุติธรรม ความเป็นพี่น้องสากล และสิ่งต่างๆ อีกมากมาย เราอยู่ในช่วงเวลาที่หลายคนรวมถึงเยาวชนบางคนกำลังขาด ความหวัง เป็นเรื่องน่าเศร้า ที่เยาวชนรุ่นราวคราวเดียวกับพวกเรา กำลังเผชิญสภาวะสงคราม ความขัดแย้งรุนแรง การถูกกลั่นแกล้งและความยากลำบากต่างๆ การถูกครอบงำด้วยความสิ้นหวัง ความกลัว และสภาวะซึมเศร้า พวกเขารู้สึกเหมือนอยู่ในที่คุมขังมืด ที่แสงสว่างส่องไปไม่ถึง อัตราการฆ่าตัวตายของเยาวชนในหลายประเทศ มีสัญญาณที่น่าเป็นห่วง ในสถานการณ์นี้ เราจะสามารถมีประสบการณ์ของความยินดีและความหวัง ที่นักบุญ เปาโลพูดถึงได้อย่างไร? มีความเสี่ยงที่เราจะเป็นเหยื่อของความล้มเหลวนี้ คิดว่าการทำความดีเป็นเรื่องไร้ประโยชน์ เนื่องจากจะไม่มีใครเห็นหรือไม่มีใครชื่นชม เราอาจจะพูดกับตัวเองว่า “ความหวังของข้าพเจ้าอยู่ที่ใดเล่า ใครจะได้ เห็นความสุขของข้าพเจ้า” (โยบ 17:15)

เมื่อเราคิดถึงโศกนาฏกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะความทุกข์ทรมานของผู้ศักดิ์สิทธิ์ เราก็สามารถ สวดภาวนาต่อพระเจ้า และถามพระเจ้าได้เช่นกันว่า “ทำไม?” และในขณะเดียวกัน เราก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของ คำตอบของพระเจ้าสำหรับปัญหานี้ได้ โดยการสร้างของพระเจ้าที่เป็นภาพลักษณ์ของพระองค์ พวกเราสามารถเป็น สัญญาณถึงความรักของพระเจ้า ที่ก่อให้เกิดความยินดีและความหวังในสถานการณ์ที่หมดหวังได้ พ่อคิดถึง ภาพยนตร์เรื่อง “ชีวิตเป็นสิ่งสวยงาม” ที่มีคุณพ่อวัยหนุ่มคนหนึ่ง เป็นคนที่ไวต่อความรู้สึกและมีความคิด สร้างสรรค์ จัดการเปลี่ยนแปลงความรุนแรงในชีวิตจริงไปเป็นการผจญภัยและเกม คุณพ่อท่านนี้ทำให้ลูกชายของ เขาสามารถมองสิ่งต่างๆ ด้วย “สายตาแห่งความหวัง” ได้ ปกป้องเขาจากความน่าสะพรึงกลัวของค่ายกักกัน เก็บรักษาความไร้เดียงสาของลูกชายไว้ ป้องกันไม่ให้ความอาฆาตพยาบาทของมนุษย์ มาทำลายอนาคตของเขา เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในภาพยนตร์เท่านั้น พวกเราสามารถเห็นได้จากชีวิตของเหล่านักบุญทั้งหลาย ที่เป็น พยานแห่งความหวัง แม้จะอยู่ท่ามกลางตัวอย่างโหดร้ายมากมายของมนุษย์ พวกเราสามารถคิดถึงนักบุญ แม็กซิมิเลียน มารีย์ โคลเบ, นักบุญโจเซฟีน บาคิตา, บุญราศีโยเซฟ วิกตอเรีย อุลมา และลูกๆ ทั้ง 7 คนของเขา

นักบุญเปาโล ที่ 6 พระสันตะปาปา อธิบายเรื่องความสามารถในการปลูกฝังความหวังในหัวใจของมนุษย์ ไว้ดังนี้ “คริสตชนหรือกลุ่มคริสตชนที่อยู่ท่ามกลางชุมชนของพวกเรา สามารถเปล่งประกายความศรัทธาของ พวกเขาแบบเรียบง่ายและอย่างตรงไปตรงมา ในการดำรงคุณค่าและความหวังของพวกเขา แม้ในสิ่งที่มองไม่เห็น หรือแม้กระทั่งในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้” (Evangelii Nuntiandi, 21)

ความหวัง คุณธรรม “ตัวเล็กๆ”

นักเขียนชาวฝรั่งเศส Charles Peguy ในช่วงต้นของบทกลอนของเขาในเรื่องความหวัง กล่าวถึง คุณธรรม ทางเทววิทยา 3 อย่างคือ ความเชื่อ ความหวัง และความรัก เปรียบเสมือนพี่น้อง 3 คน ที่เดินไปพร้อมกัน

“ความหวัง-น้องคนเล็ก-เดินเคียงข้างพี่สาวทั้งสองไป ที่มองไม่เห็นได้ในทางปฏิบัติ

.........

เป็นเธอ เจ้าเด็กน้อย ที่เดินพาพวกเขาไป
เพราะว่าความเชื่อนั้นมองเห็นแต่เพียงสิ่งที่เป็น
และความรักจะรักแต่ในสิ่งที่เป็น
แต่ความหวัง รักในสิ่งที่จะเป็น

.........

เธอคือสิ่งที่ทำให้ผู้อื่นเดินต่อไปได้
เธอคือสิ่งที่นำพวกเขาต่อไป
และทำให้พวกเขาเดินไปพร้อมๆ กัน”
(จาก The Portico of the Mystery of the Second Virtue)

พ่อก็เช่นกัน ที่เชื่อมั่นว่า ความหวังมีความนอบน้อม ตัวเล็ก แต่เป็นสิ่งที่จำเป็น ลองคิดกันดูว่า เราจะ สามารถอยู่ได้อย่างไร ถ้าไม่มีความหวัง? ในแต่ละวันของเราจะเป็นอย่างไร? ความหวังเปรียบเสมือนเกลือของชีวิต เราในแต่ละวัน

ความหวัง-แสงสว่างที่ส่องในเวลาค่ำคืน

ตามธรรมเนียมของคริสตชนแล้ว วันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์เป็นวันแห่งความหวัง อยู่ระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์และ วันอาทิตย์ปัสกา เปรียบเสมือนดินแดนที่ไม่มีมนุษย์อยู่ระหว่างความสิ้นหวังของอัครสาวกและความชื่นชมยินดีของ พวกเขาในเช้าวันปัสกา เป็นที่ซึ่งความหวังเกิดขึ้นมา ในวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์พระศาสนจักรระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ อย่างสงบของพระเยซูคริสตเจ้า เราเห็นภาพนี้ในหลากหลายรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงพระเจ้า แสงที่เปล่งประกาย ผู้ทรงดำดิ่งสู่ห้วงแห่งความมืดมนที่สุดแล้วก้าวข้ามผ่านมาได้ พระเจ้าไม่เพียงแค่มองด้วยความเห็นอกเห็นใจ ต่อ ประสบการณ์ความตายของเราหรือทรงเรียกเราจากระยะไกลเท่านั้น พระองค์จะเสด็จมาในช่วงเวลาแห่ง ความยากลำบากของเรา เป็นเหมือนแสงสว่างที่ส่องในความมืดและเอาชนะช่วงเวลานั้นได้ (เทียบ ยน 1:5) นี่เป็น การกล่าวอธิบายที่สวยงาม โดยใช้บทกวีภาษาโซซาของแอฟริกาใต้ “ถึงความหวังจะสิ้นสุดลง แต่ด้วยบทกวีนี้ ฉันฟื้นความหวังขึ้นมา ความหวังของฉันถูกฟื้นขึ้นมาเพราะว่าความหวังของฉันอยู่ในพระเจ้า ฉันหวังว่าพวกเรา ทุกคนจะเป็นหนึ่งเดียวกัน! จงตั้งมั่นในความหวัง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีอยู่ไม่ไกล”

ถ้าเราคิดเกี่ยวกับสิ่งนี้ ความหวังของพระนางมารีย์ ผู้ที่มั่นคงแน่วแน่อยู่ใต้กางเขนของพระเยซูเจ้า เชื่อมั่น ว่าผลลัพธ์ที่ดีใกล้เข้ามาแล้ว พระนางมารีย์เป็นผู้หญิงแห่งความหวัง เป็นพระมารดาแห่งความหวังบนเนินกัลวาริโอ “แม้ดูเหมือนจะไม่มีความหวัง” (รม 4:18) พระนางมารีย์ไม่เคยหวั่นไหวในความมั่นใจในเรื่องการกลับคืนชีพของ พระบุตร ตามที่พระบุตรของพระนางดำรัสไว้ แม่พระมารีย์แต่งเติมความเงียบของวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ด้วยความรัก และความคาดหวังที่เต็มไปด้วยความหวัง และให้กำลังใจเหล่าอัครสาวกด้วยความมั่นใจว่า พระเยซูเจ้าจะเอาชนะ ความตายและความชั่วร้ายนั้น จะไม่ใช่คำพูดสุดท้ายของพระองค์

ความหวังของคริสตชน ไม่ใช่การมองโลกในแง่ดีแบบง่ายๆ ไม่ใช่ความงมงาย เป็นเรื่องแน่นอนที่ต้อง มีพื้นฐานของความรักและความศรัทธาว่าพระเจ้าจะไม่ทอดทิ้งเรา และซื่อสัตย์ต่อคำมั่นสัญญาของพระองค์ “แม้ข้าพเจ้าจะต้องเดินไปในหุบเขาที่มืดมิด ข้าพเจ้าก็จะไม่กลัวอันตรายใดๆ เพราะพระองค์ทรงอยู่กับข้าพเจา้” (สดด 23:4) ความหวังของคริสตชน ไม่ใช่การปฏิเสธความโศกเศร้าและความตาย เป็นการเฉลิมฉลองของ พระคริสตเจ้า ผู้ฟื้นคืนชีพ ผู้ทรงอยู่เคียงข้างเราเสมอ แม้ว่าพระองค์ดูเหมือนอยู่ไกลจากเรา “พระคริสตเจ้าทรง เป็นองค์ความสว่างอันยิ่งใหญ่แห่งความหวัง และทรงนำทางเราในยามค่ำคืน เพราะพระองค์ทรงเป็น ‘ดวงประจำ รุ่งสุกใส’” (Christus Vivit, 33)

การบำรุงรักษาความหวัง

หลังจากเปลวไฟแห่งความหวังได้ถูกจุดขึ้นในตัวของเราแล้ว อาจจะมีบางครั้งที่มีความเสี่ยงต่อการถูก ดับลงด้วยความกังวล ความกลัว ความกดดันต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เปลวไฟแห่งความหวังนี้ ต้องการออกซิเจน เพื่อช่วยเผาไหม้ต่อไป เพื่อให้เติบโตไปเป็นกองไฟแห่งความหวังอันยิ่งใหญ่ สายลมที่อ่อนโยนของพระจิตช่วย เลี้ยงดูความหวังของเรา และมีวิธีอีกมากมายที่เราจะสามารถให้ความร่วมมือกับสิ่งนี้ได้

ความหวังถูกหล่อเลี้ยงได้โดยการภาวนา การภาวนาจะรักษาและต่ออายุความหวังได้ การภาวนาช่วยพัด ให้ความหวังจุดปะทุเป็นเปลวไฟ “การภาวนาคือพลังแรกของความหวัง เมื่อเราภาวนา ความหวังก็จะเติบโตและ เคลื่อนที่ไปข้างหน้า” (Catechesis, 20 May 2020) การสวดภาวนาเป็นเหมือนการปีนขึ้นสู่ยอดเขา ขณะนี้เริ่ม ปีนจากที่พื้น ดวงอาทิตย์อาจจะถูกบังด้วยเมฆ แต่เมื่อเราปีนขึ้นไปเหนือเมฆแล้ว แสงสว่างและความอบอุ่นกจ็ะ ห่อหุ้มเราไว้ เราจะเห็นอีกครั้งว่าดวงอาทิตย์ยังคงอยู่ที่เดิมตรงนั้นตลอดเวลา แม้ในช่วงเวลาที่ทุกสิ่งรอบตัวเรา มืดมิดและน่าเบื่อ

เพื่อนเยาวชนที่รัก เมื่อพวกลูกรู้สึกว่าถูกรอบล้อมไปด้วยเมฆหมอกแห่งความกลัว ความสงสัย ความวิตก กังวลและพวกลูกไม่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ ให้สวดภาวนา ในเวลาที่ไม่มีใครสักคนฟังพวกลูก พระเจ้ายังฟัง ลูกอยู่ (Benedict XVI, Spe Salvi, 32) ให้พวกเราแบ่งเวลาแต่ละวัน สำหรับการพักผ่อนในพระเจ้า โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เผชิญกับปัญหา “วิญญาณข้าพเจ้าเอ๋ย จงพักผ่อนในพระเจ้าเท่านั้น ความหวังของข้าพเจ้ามา จากพระองค์” (สดด 62:5)

ความหวังได้รับการหล่อเลี้ยงจากการตัดสินใจในแต่ละวันของเรา คำเชื้อเชิญของนักบุญเปาโล ให้ชื่นชม ยินดีในความหวังเรียกร้องสำหรับทางเลือกที่เป็นรูปธรรม ในการดำเนินชีวิตแต่ละวันของเรา พ่ออยากกระต้นุให้ พวกลูกทุกคนเลือกรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีพื้นฐานของความหวัง พ่อขอยกตัวอย่างสักหนึ่งตัวอย่าง บนโลกโซเชียล การแบ่งปันสิ่งที่เป็นลบมักจะง่ายกว่าการแบ่งปันเรื่องราวที่เสริมสร้างแรงบันดาลใจให้มีความหวัง เสมอ ดังนั้น พ่ออยากเสนอแนะอย่างเป็นรูปธรรมว่า ในแต่ละวันให้พวกลูกพยายามแบ่งปันคำพูดแห่งความหวังให้ ผู้อื่น พยายามหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง ในชีวิตของเพื่อน และทุกคนที่อยู่รอบข้างพวกลูก สำหรับ “ความหวัง นั้นเรียบง่ายถ่อมตน เป็นคุณธรรมที่ถูกสร้างขึ้นในแต่ละวัน พวกลูกต้องจำไว้ว่า ในแต่ละวันเราทำการสร้างผลผลิต แรกของพระจิต ที่ทำงานในตัวเราผ่านทางการกระทำและสิ่งเล็กน้อย” (Morning Meditation, 29 October 2019)

การจุดคบเพลิงแห่งความหวัง

บางครั้ง เมื่อพวกลูกออกไปข้างนอกกับเพื่อนๆ ในช่วงกลางคืน พวกลูกนำโทรศัพท์มือถือไปด้วย และใช้ มันเป็นไฟฉายในคอนเสิร์ตใหญ่ๆ พวกลูกหลายพันคนใช้หลอดไฟหรือเทียนแบบใหม่ โยกไปตามจังหวะของเพลง มันเป็นภาพที่น่าประทับใจมาก ช่วงเวลากลางคืนแสงสว่างจะทำให้เราเห็นสิ่งต่างๆ ในมุมใหม่ และในความมืด ความงดงามก็ฉายแสงออกมา ดังนั้น ถ้าเป็นแสงสว่างแห่งความหวังที่เป็นพระคริสตเจ้าจากพระเยซูเจ้า จากการ กลับคืนชีพของพระองค์ ชีวิตของเราก็จะมีแสงสว่างในพระองค์ เราจะเห็นทุกสิ่งในมุมมองใหม่

พวกเราได้รับการบอกเล่ามาว่า เมื่อประชาชนมาหา นักบุญยอห์น ปอล ที่2 พระสันตะปาปา มาเล่าให้ พระองค์ฟังถึงปัญหา คำถามแรกที่พระองค์ถามคือ “คุณจะมองปัญหานี้ในแสงสว่างของความศรัทธาได้อย่างไร?” เมื่อพวกเรามองสิ่งต่างๆ ด้วยแสงสว่างแห่งความหวัง สิ่งเหล่านั้นจะต่างออกไป พ่อขอให้กำลังใจพวกลูก ตั้งแต่ ตอนนี้ให้เริ่มมองสิ่งต่างๆ ด้วยความหวัง ขอบคุณพระเจ้าสำหรับของขวัญแห่งความหวัง คริสตชนที่เต็มไปด้วย ความชื่นชมยินดีใหม่ ที่มาจากภายใน ความท้าทายและความยากลำบากต่างๆ ยังคงมีอยู่เสมอ แต่ถ้าเราเผชญิสิ่ง เหล่านี้ด้วยความหวังที่เต็มไปด้วยความศรัทธา เราจะสามารถเผชิญกับความท้าทายและความยากลำบากต่างๆ ได้ และพวกเราเองนี้แหละ ที่จะสามารถเป็นสัญญาณเล็กๆ แห่งความหวังให้กับผู้อื่นได้

พวกลูกแต่ละคน สามารถเป็นสัญญาณไฟ นำความเชื่อศรัทธาของเราออกมาเป็นรูปธรรม นำไปสู่ ความเป็นจริงและไวต่อความต้องการของพี่น้องรอบตัวเรา ขอให้เรานึกถึงอัครสาวกของพระเยซูเจ้า ในวันหนึ่งบน ภูเขาสูง ได้เห็นพระองค์ปรากฏกายด้วยแสงอันรุ่งโรจน์ ถ้าพวกเขาอยู่ที่นั่นมันก็คงจะเป็นประสบการณ์ที่สวยงาม สำหรับพวกเขา แต่ผู้อื่นก็จะไม่ได้รับประสบการณ์นั้น พวกเขาก็ได้เดินทางลงมาจากภูเขานั้น ทำให้พวกเราไดร้ับ ประสบการณ์นั้นด้วย เราต้องไม่หนีไปจากโลก แต่รักในช่วงเวลาที่พระเจ้ามอบให้กับเรา โดยไม่ใช่อย่างไร้เหตผุล พวกเราสามารถหาความสุขได้โดยการแบ่งปันพระพรที่เราได้รับให้กับพี่น้องของเรา ที่พระเจ้าประทานให้เราได้พบ เจอในแต่ละวัน

เยาวชนที่รัก อย่ากลัวที่จะแบ่งปันความหวังและความชื่นชมยินดี ที่พระเจ้าทรงกลับคืนชีพแก่ผู้อื่น จงรักษาประกายไฟที่จุดประกายในตัวพวกลูก แต่ในขณะเดียวกันก็แบ่งปันให้กับผู้อื่นด้วย พวกลูกจะเข้าใจว่า เปลวไฟเหล่านี้ จะยิ่งใหญ่เมื่อได้มอบให้กับผู้อื่น เราไม่สามารถเก็บความหวังของคริสตชนไว้กับพวกเราได้ เหมือนกับความรู้สึกอบอุ่น เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่มีความหมายสำหรับทุกคน พวกลูกจงอยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนที่อาจจะ มีรอยยิ้มจากภายนอก แต่ภายในกำลังร้องไห้ เนื่องจากขาดความหวัง อย่าปล่อยให้ตัวเองมัวหมองด้วยความ เฉยเมยและความปัจเจกชน เปิดตัวเองเหมือนคลองที่เต็มไปด้วยความหวังของพระเยซูเจ้าที่สามารถไหลผ่านและ แพร่กระจายไปในทุกๆ พื้นที่ที่พวกลูกอาศัยอยู่

“พระคริสตเจ้าทรงพระชนม์! พระองค์ทรงเป็นความหวังของเรา และด้วยวิธีการอันน่าอัศจรรย์ พระองค์ ทรงนำความเป็นหนุ่มสาวให้โลกของเรา” (Christus Vivit, 1) พ่อกล่าวถ้อยคำเหล่านั้นแก่พวกลูกเมื่อเกือบห้าปี ที่แล้ว หลังจากการประชุมสมัชชาเยาวชน พ่อให้กำลังใจพวกลูกทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำงานในพันธกิจของ เยาวชน ให้อ่าน Final Document of 2018 และ Christus Vivit ถึงเวลาที่จะเก็บเกี่ยวสิ่งที่ได้จากสถานการณ์นั้น และทำงานร่วมกันด้วยความหวัง เพื่อการดำเนินการอันน่าจดจำนั้นอย่างเต็มที่

ให้พวกเราฝากชีวิตไว้กับพระนางมารีย์ พระมารดาแห่งความหวัง พระนางมารีย์สอนให้เรารู้จักวิธีการ ประคองพระเยซูเจ้า ซึ่งคือความยินดี ความหวังไว้ในใจเราและแบ่งปันให้กับผู้อื่น เพื่อนๆ ที่รัก ขอให้พวกลูกทุกคน
สนุกสนานกับทุกการเดินทาง ที่พวกลูกกำลังเดินอยู่ พ่อขออวยพรลูกและพ่อจะเดินทางไปกับพวกลูก ผ่านทางการ ภาวนา และขอให้พวกลูกภาวนาให้พ่อเช่นกัน

ให้ไว้ ณ กรุงโรม มหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรัน วันที่ 9 พฤศจิกายน 2023

ฉลองวันครบรอบการถวายพระวิหารลาเตรัน

ฟรังซิส

 

 

แปลโดย : อาจารย์ธานินท์ ธรรมลงกรต

เรียบเรียงโดย : คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อครสิตชนฆราวาส แผนกเยาวชน

 



Copyright © Dicastero per la Comunicazione - Libreria Editrice Vaticana